top of page

'ถุงพลาสติก' ไม่ใช่ 'บุหรี่'

Updated: May 14, 2021


ประเด็นเรื่องการเบลอถุงจนไปถุงการเปรียบเทียบกับบุหรี่:

ส่วนหนึ่งของการตลาดคือการทำให้คนอยากใช้มัน ด้วยการทำให้คนเห็นบ่อยๆ (สิ่งของมีลมหายใจ) ทำให้คนรู้ว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง (ใส่Functional Benefits) ทำให้คนเห็นว่ามันดี (ใส่ Emotional Benefits หรือ Lifestyle) และทำให้คนหลงมัน (Love Marks)

ถ้าคนเห็นบ่อยๆ จิตคนน่าจะกระตุ้นให้ใช้มัน รัฐเลยมองว่าควรจะเลี่ยงภาพถุง เพื่อตัดลมหายใจ หรือ รัฐมองว่าถ้าเบลอมันจะได้เตือนสติคนว่าถุงมันไม่ดี

พอมีประเด็นเบลอ เลยมีประเด็นเชื่อมโยงกับบุหรี่ จริงๆ การตลาดของบุหรี่ ถูกห้ามโดยหน่วยงาน เพราะอยากให้คนสูบบุหรี่น้อยลง แต่ไม่อยากห้ามให้ขาย

ซึ่งข้อห้ามของบุหรี่ใช้มาจากทฤษฎี Protection Motivation Theory เช่น การทำให้คนเห็นถึงความรุนแรงของโรค (noxiousness), การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค (perceived probability) และ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (response efficacy) หรือใส่ตัวแปรทีทำให้เกิดความกลัว เพื่อคาดหวังว่าคนจะทำมันน้อยลง และเชื่อว่าการที่คนไม่เห็นมันจะทำให้คนใช้มันน้อยลง (เลยไม่เปิดให้คนเห็นรูปภาพนอกจากแบรนด์ในร้าน Retail)

 

ส่วนตัวมองว่า 1. ถุงพลาสติกไม่ได้เป็นผู้ร้ายขนาดนั้น ไม่ควรไปเบลอและไม่ควรไปเลี่ยงในทีวี (ถุงพลาสติกถ้าใช้ซ้ำๆ มีประโยชน์มาก ใช้ต้นทุนโลกในการผลิตน้อย ถึงแม้จะย่อยสลายช้า) 2. ควรจะมีถุงพลาสติกในร้าน Retial ไม่ควรแจก แต่ควรจะเก็บราคาถุงแพง เพื่อเป็นค่า Ecological Cost ที่แท้จริง (เก็บแพงหน่อยก็ได้) เอาเงินจากค่าเก็บ มาโปรโมตการลดใช้ถุงพลาสติก 3. รัฐไม่ควรรับขยะเข้าประเทศเยอะ (ถ้าประโยชน์จากการนำเข้าขยะไม่สูงจริงๆ) 4. ผู้บริโภคควรจะ Aware และใช้ของหมด Full Consumptin Cycle

 

โดย: Kenny Kanawat รูปภาพ: อินเตอร์เนต (คนในรูปไม่เกี่ยวกับต้นเรื่อง)

Comments


bottom of page